Q
ช่วยอธิบายหน่อยครับว่า ทำไมกองทุนรวมบางกองจึงมีการจ่ายเงินปันผล แต่บางกองก็ไม่มีการจ่ายเงินปันผล แล้วผลตอบแทนที่ได้รับจากกองทุนรวมทั้งสองกองนี้แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
A
โดยทั่วไปนั้น เราพอที่จะจำแนกวัตถุประสงค์ในการลงทุนของผู้ลงทุนทั่วๆ ไป ได้ดังนี้ คือ
1.ลงทุนเพื่อเพิ่มค่าของเงินลงทุน หมายความว่า ต้องการให้หลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินที่ตนเองลงทุน หรือมีอยู่นั้นเพิ่มมูลค่าขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาที่ลงทุน ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนซื้อหุ้นในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ลงทุนคาดหวังให้หุ้นที่ตัวเองซื้อนั้นมีราคาเพิ่มขึ้น เพื่อจะได้มีกำไรจาก ส่วนต่างของราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง หรือเปรียบเทียบกับการซื้อที่ดิน ผู้ซื้อก็คาดหวังว่าเมื่อเวลาผ่านไป ที่ดินจะมีราคาเพิ่มขึ้น เหล่านี้เป็นต้น
2.ลงทุนเพื่อให้มีรายได้ประจำ หมายความว่า ในระยะเวลาที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินใดๆ ก็ตาม ต้องการให้มีกระแสเงินสดรับเข้ามาแน่นอนเป็นประจำสม่ำเสมอ ซึ่งรายได้ประจำนี้อาจจะอยู่ในรูป ของดอกเบี้ยรับและเงินปันผล หรือรายได้จากการให้เช่าที่ดิน อาคาร เป็นต้น
3.ลงทุนเพื่อปกป้องเงินทุน หรือต้องการรักษาอำนาจซื้อของตนไว้จากภาวะเงินเฟ้อ หมายความว่า ต้องการให้เงินลงทุนของตนไม่เสื่อมค่า หรือมีมูลค่าลดลง เมื่อเวลาผ่านไป
4.ลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนรวม หมายความว่า ผู้ลงทุนต้องการให้ระดับผลตอบแทนและความเสี่ยง จากการลงทุนมีความเหมาะสม ไม่เน้นไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป โดยลงทุนผสมกันไประหว่าง วัตถุประสงค์การลงทุนทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาข้างต้น
เนื่องจากความต้องการของผู้ลงทุนที่แตกต่างกันนี้เอง บริษัทจัดการจึงได้จัดตั้งกองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายเงิน ปันผล และนโยบายไม่จ่ายเงินปันผล เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ลงทุน กล่าวคือ
ส่วนกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลหรือไม่ ผู้ลงทุนไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด จะเห็นได้ว่าการที่บริษัทจัดการจัดตั้งกองทุนรวมโดยกำหนดให้มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลและไม่จ่ายเงินปันผล ก็เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ลงทุนที่มีความต่างกันนั่นเอง
ส่วนกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลหรือไม่ ผู้ลงทุนไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด จะเห็นได้ว่าการที่บริษัทจัดการจัดตั้งกองทุนรวมโดยกำหนดให้มีนโยบาย การจ่ายเงินปันผลและไม่จ่ายเงินปันผล ก็เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ลงทุนที่มีความต่างกันนั่นเอง