Q   

อยากทราบว่า บริษัทเล็กๆ (มีพนักงานประมาณ 10 คน) สามารถจะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้หรือไม่ และถ้าสามารถจัดตั้งได้ สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบก่อนจะดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอะไรบ้างครับ


 

 A   

สำหรับการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนสมาชิกว่าจะต้องมีกี่คน กองทุนสำรอง เลี้ยงชีพสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่ลูกจ้างร่วมกับนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้น โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและ นายจ้างจ่ายเงินสมทบ ดังนั้น ไม่ว่าบริษัทจะมีพนักงานเพียงคนเดียว หรือหลายคน ถ้าทุกคนสมัครใจร่วมกันที่จะ จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็สามารถทำได้ค่ะ

สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาเมื่อคิดจะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีดังต่อไปนี้ คือ ข้อมูลสำคัญๆ เกี่ยวกับ นายจ้าง ลูกจ้าง และการคัดเลือกบริษัทจัดการ กล่าวคือ

1. นายจ้าง :

ต้องสำรวจดูความพร้อมของนายจ้างว่าสามารถรองรับระบบงานที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ได้แก่

2. ลูกจ้าง :

ตรวจสอบดูว่า ผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งจะมีส่วน ทำให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งมีนโยบายในการลงทุน ลักษณะ หรือรูปแบบ เป็นอย่างนั้นด้วย เช่น

3. ลูกจ้าง :

เนื่องจากระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กำหนดให้ผู้บริหารเงินของกองทุนเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นายจ้าง ดังนั้น นายจ้างจึงต้องมองหานักบริหารมืออาชีพ หรือที่เรียกว่า บริษัทจัดการ เข้ามาช่วยบริหารเงินก้อนนี้ โดย ผู้ประกอบธุรกิจรับบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุน ส่วนบุคคลได้ เพราะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจัดเป็นกองทุนส่วนบุคคลประเภทหนึ่งด้วย การศึกษาข้อมูลของบริษัท จัดการแต่ละบริษัทว่า มีประวัติความเป็นมาและการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นอย่างไร ก่อนการตัดสินใจเลือกให้มาบริหาร กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท นับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา ทั้งนี้ สามารถสืบค้นรายชื่อบริษัทจัดการ ที่ให้บริการรับบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้จาก เว็บไซต์กองทุน สำรองเลี้ยงชีพไทย www.thaipvd.com ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)ในหัวข้อ ผู้ให้บริการ - บริษัทจัดการ